วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week2 : เรื่องที่นักเรียนสนใจ

วิศวกรรมเคมี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง 

          หากพูดถึงคณะวิศวกรรมย่อมไม่มีใครไม่รู้จัก แต่จะมีใครบ้างที่รู้จักคณะวิศวกรรมเคมีอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นการเข้าศึกษา การเรียนการสอน หรือการทำงานหลังจากจบการศึกษา ซึ่งบล็อกนี้ได้นำความรู้เกี่ยวกับการศึกษาต่อคณะวิศวกรรมเคมี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง มาให้ศึกษาเพื่อเป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจในการศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย 
          วิศวะเคมีคือ วิศวกรเครื่องกลที่มองเรื่องต่างๆ ในรูปแบบของเคมีมากกว่าฟิสิกส์ มีความรู้ทางด้านการคำนวณทางเคมี และทำงานในรูปแบบของวิศวอุตสาหการ


ขอบคุณภาพจาก http://www.unigang.com/Article/306

          ภาควิชาวิศวกรรมเคมี ได้จัดตั้งขึ้นมาเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว ในชื่อ "โครงการจัดตั้ง ภาควิชาวิศวกรรมเคมี" โดยการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของภาควิชาเทคนิคอุตสาหกรรม หรือ วิศวกรรมสารสนเทศในปัจจุบัน ได้เริ่มเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2537 โดยมีที่ทำการอยู่ที่ชั้นที่ 9 ของอาคาร 12 ชั้นของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จากนั้นได้ย้ายมาอยู่ที่อาคาร CCA ในปี พ.ศ. 2543 โดยมีห้องปฏิบัติการเฉพาะหน่วยเป็นชั้นโล่งที่มีความสูงเท่ากับตึก 3 ชั้นอยู่บริเวณชั้น 1-3 ห้องธุรการภาควิชา ห้องสัมมนา ห้องพักอาจารย์บางส่วนอยู่ที่ชั้น 4 ในส่วนของ ชั้น 5 เป็นห้องปฏิบัติการรวมขนาดใหญ่ ในส่วนชั้นที่ 6 จะมี ห้องพักอาจารย์ ห้องทำงานวิจัย ห้องเรียน CCA-601 และ CCA-602


          ปัจจุบันได้เปิดการเรียนการสอนในทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก โดยมีคณาจารย์ประจำ จำนวน 15 คนโดยมีวุฒิระดับปริญญาเอก จำนวน 12 คน ระดับปริญญาโท จำนวน 6 คน โดยอาจารย์แต่ละท่านจะมีความชำนาญเฉพาะด้านที่หลากหลายอาทิ ตัวเร่งปฏิกิริยา พอลิเมอร์ พลังงานทดแทน ระบบควบคุม กระบวนการแยกสาร เทคโนโลยีสะอาด แบบจำลองมลภาวะอากาศ และระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น ภาควิชา จึงมีความพร้อมที่จะช่วยพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านอุตสาหกรรมเคมี ไปพร้อมทั้งดูแลสภาวะแวดล้อมให้ยังคงอยู่ 




การเรียนเกี่ยวกับวิศวกรรมเคมี
วิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering) เกี่ยวกับอะไร
          วิศวกรรมเคมีเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่นำความรู้ด้านฟิสิกส์และเคมีมาใช้ในการผลิตสารเคมีในระดับอุตสาหกรรม ความรู้ด้านฟิสิกส์ที่นำมาประยุกต์ เช่น กลศาสตร์โดยเฉพาะกลศาสตร์ของไหล เทอร์โมไดนามิกส์การแลกเปลี่ยนความร้อน (heat transfer) และการแลกเปลี่ยนมวลสาร (mass transfer) ส่วนด้านเคมี เช่น จลศาสตร์ของปฏิกริยาเคมี (kinetic of reaction)ซึ่งจริงๆแล้วจะมีสัดส่วนของฟิสิกส์มากกว่ามากกว่าเคมีเสียอีก ดังนั้นน้องๆที่บอกว่าไม่ชอบเคมีแล้วกลัวว่าจะเรียนไม่ได้ก็ไม่ต้องห่วงครับ ตัวผมเองก็ไม่ค่อยชอบ pure chemistry เท่าไหร่แต่กลับชอบวิศวกรรมเคมีครับ หลังจากเรียนวิชาพื้นฐานพวกนั้นแล้ว ก็เรียนรู้การออกแบบอุปกรณ์ต่างที่นำความรู้พวกนั้นมาประยุกต์ เช่นการเลือกใช้ปั๊ม การเลือกท่อ (พวกนี้จะคล้ายกับวิศวกรรมเครื่องกล) การออกแบบหอกลั่นเบื้องต้น การออกแบบreactor (ศัพท์จริงๆแปลว่าเครื่องปฏิกรณ์หรือเตาปฏิกรณ์ แต่คนทั่วไปมักนึกถึงเตาปฏิกรณ์ปรมาณู -ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า reactor เหมือนกัน) เป็นต้น เมื่อได้อุปกรณ์แต่ละตัวแล้วก็นำมาจัดสร้างเป็นกระบวนการผลิตแล้วประเมินความคุ้มค่าในการลงทุนด้วยวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นครับ สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ต้องเรียนในระดับปริญญาตรีครับ ส่วนปริญญาโทหรือเอก ก็จะเจาะเกี่ยวกับการประยุกต์ความรู้ในการแก้ปัญญาต่างๆ หรือพัฒนาสมมติฐานใหม่ๆ 

          หากใครมีความสนใจอยากศึกษาด้านวิศวกรรมเคมี ต้องมีความรู้ มีทักษะทางคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และเคมีเบื้องต้น โดยการเข้าศึกษาคณะวิศวกรรมเคมี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบังมีดังนี้
1. ผ่านระบบแอดมิดชั่น
2. โควต้าต่างๆ
ขอบคุณข้อมูล http://www.unigang.com/Article/3635


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น