วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week4: โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ ( Java )

Week4: โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ ( Java ) 
          ก่อนที่เราจะรู้จักกับภาษา Java เราควรรู้จักกับภาษาของคอมพิวเตอร์ก่อน ภาษาของคอมพิวเตอร์คือ ภาษาที่ผู้ใช้งานใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ด้วยกัน แล้วคอมพิวเตอร์สามารถทำตามคำสั่งนั้นได้           
Java เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม พัฒนาขึ้นโดยบริษัท ซันไมโครซิสเต็มส์ จำกัด (Sun Microsystems Inc.) ในปี ค.ศ. 1991

          ภาษา Java เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ต่างๆ เช่น โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ โดยมีเป้าหมายการทำงานเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆได้อย่างกว้างขวาง และมีประสิทธิภาพ ใช้เวลาน้อย รวดเร็วในการพัฒนาโปรแกรม และสามารถเชื่อมต่อไปยังแพล็ตฟอร์ม (Platform) อื่นๆได้ง่าย  Java เป็นภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่งที่มีลักษณะสนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP : Object-Oriented Programming) ที่ชัดเจน โปรแกรมต่าง ๆ ถูกสร้างภายในคลาส (Class) โปรแกรมเหล่านั้นเรียกว่า Method หรือ Behavior โดยปกติจะเรียกแต่ละ Class ว่า Object โดยแต่ละ Object มีพฤติกรรมมากมาย โปรแกรมที่สมบูรณ์จะเกิดจากหลาย object หรือหลาย Class มารวมกัน โดยแต่ละ Class จะมี Method หรือ Behavior แตกต่างกันไป



ข้อดีของภาษา Java
          1. ภาษา Java เป็นภาษาโปรแกรมที่ง่ายในการเรียนรู้ ภาษา Java มีคุณลักษณะต่างๆ ดังนี้ เช่น เชื่อมต่อข้ามแพล็ตฟอร์ม (Platforms) ต่างๆ ได้ สามารถเขียนโปรแกรมแบบ OOP (Object-Oriented Programming) ได้งายมาก โปรแกรมมีขนาดเล็ก และมีวิธีการเขียนไม่ยุงยากซับซ้อน ดังนั้นโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษา Java จึงคอมไพล์ได้ง่ายตลอดจนตรวจสอบหาข้อผิดพลาดโปรแกรมได้ง่ายด้วย ภาษา java เป็นภาษาที่ทำความเข้าใจได้ง่ายมาก มีขนาดเล็กและยากที่จะเกิดข้อผิดพลาด เขียนคำสั่งได้ง่าย มีประสิทธิภาพในการทำงานและมีความยืดหยุ่นสูง 

          2. ภาษา Java เป็นการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ OOP (Object-Oriented Programming) การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ เป็นเทคนิคการเขียนโปรแกรมให้มีลักษณะเป็นโมดูล (Module) แบ่งโปรแกรมเป็นส่วนๆ ตามสภาวะแวดล้อมการทำงานของโปรแกรมซึ่งเรียกว่า Method โดยทุก Method ก็คือ ระเบียบวิธี หรือการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยจะถูกรวบรวมอยู่ในคลาส ซึ่งหลักการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุจะมององค์ประกอบของโปรแกรมต่างๆเป็นคลาสหรือวัตถุ เรียกว่า Object ตัวอย่าง เช่น วัตถุที่มองเห็นได้ เช่น รถ สินค้า หรือ วัตถุที่ไม่สามารถมองเห็นได้ เช่น เหตุการณ์ต่างๆ  ข้อมูลต่างๆของ Object จะถูกซ่อนไว้คลาสเรียกว่า Data Encapsulation ซึ่งมีประโยชน์ในการแก้ไขข้อมูลหรือ Method ใดๆ ที่อยู่ในคลาส โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานหรือเรียกใช้งานของ Object นั้น 


   3. ภาษา Java เป็นอิสระต่อแพล็ตฟอร์ม (Java is Platform-Independent)Java เป็นอิสระต่อแพล็ตฟอร์ม ทั้งระดับซอร์ซโค้ด (Source Code) และไบนารีโค้ด (Binary Code) ช่วยให้สามารถเคลื่อนย้ายโปรแกรมจากระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังระบบคอมพิวเตอร์อื่นได้อย่างง่ายดาย เพราะว่าโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษา Java ได้รวบรวมคำสั่งต่างๆไว้ในไลบรารีคลาสพื้นฐานต่างๆ เป็น Java Packages ช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนคำสั่ง เมื่อย้ายโปรแกรมไปยังแพล็ตฟอร์มอื่น โดยไม่ต้องเขียนซอร์ซโค้ด (Source Code) ขึ้นใหม่ทำให้ประหยัดเวลามาก เมื่อคอมไพล์ซอร์ซโค้ด จะได้ไฟล์ไบนารีโค้ด ที่เรียกว่า Bytecode การรันโปรแกรมของ Java จะทำงานในลักษณะอินเทอร์พรีเตอร์ (Interpreter) ของไฟล์ Bytecode  ซึ่งสามารถรันบนแพล็ตฟอร์มใดๆ ก็ได้ รวมทั้งระบบปฏิบัติการต่างๆ เช่น ระบบ Windows, Solaris, Linux หรือ MacOS โดยการแปลคำสั่งทีละคำสั่ง แพล็ตฟอร์มที่ Java ทำงานได้จะต้องประกอบด้วย 2 ส่วน คือ Java Virtual Machine (JVM) และ Java Application Programming Interface (Java API) โดย Java Virtual Machine คือเครื่องมือที่รวบรวมคำสั่งคอมไฟล์และรันโปรแกรม Java ส่วน Java API เป็นกลุ่มของคลาส และอินเตอร์เฟส (Interface) ที่รวมอยู่ในไลบรารีที่เรียกว่า Java Package เช่น java.awt, java.util หรือ java.io เป็นต้น ลักษณะการทำงานของ Java ที่เป็นอิสระต่อแพล็ตฟอร์มโดยการเขียนโปรแกรมเพียงครั้งเดียวแต่สามารถนำไปใช้ทำงานยังเครื่องอื่นๆ ได้ นั้นเรียกว่า Write once, Run anywhere นั้นเอง

          4. ภาษา Java มีระบบการทำงานและมีระบบความปลอดภัยที่ดี Java จะคำสั่งต่างๆที่เป็นส่วนประกอบของ Java API โดยมีการรวบรวมเป็นคลาสต่างๆไว้มากมาย ช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรม นอกจากนั้นยังมี Garbage Collector โดยมีระบบจัดการหน่วยความจำเพื่อเก็บขยะของโปรแกรมและคืนหน่วยความจำให้กับระบบ โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษา Java มีระบบจัดการข้อผิดพลาดที่เกิดจากการทำงานของโปรแกรมที่เรียกว่า Exception Handling ด้วยทำให้สามารถตรวจสอบโปรแกรม (Debug) โปรแกรมได้ง่ายขึ้น Java มีระบบความปลอดภัยที่ดี เช่น โปรแกรม Java ที่ทำงานบนเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) ที่เรียกว่า Java Applet นั้นจะทำงานเฉพาะบนเครื่องแม่ข่าย (Server) โดยไม่สามารถเข้าถึงเครื่องลูกข่าย (Client) ไปทำลายไฟล์ หรือไฟล์ระบบ (System file) ได้ ทำให้มีระบบความปลอดภัยที่ดี ป้องกันข้อมูลจากไวรัส และโปรแกรมที่เขียนด้วย Java ไม่มีพฤติกรรมเป็นไวรัสได้


วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week3: social Network กับนักเรียนและสังคมไทย

Week3: Social Network กับนักเรียนและสังคมไทย

          Social Network คือ สังคมออนไลน์ การติดต่อสื่อสารกันผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อผ่านคน 10 คน 20 คนหรือ 100 คนก็ตามผ่านผู้ให้บริการด้าน Social Network เช่น Line Facebook Twitter Instagram Blogger เป็นต้น การเชื่อมโยงดังกล่าวทำให้เกิดเป็นเครือข่ายสังคม ทำให้สังคมแคบมากขึ้น รู้จักกันง่ายมากขึ้น และแต่ละ Social Network ก็จะมีการใช้งานที่แตกต่างออกไป


ขอบคุณรูปภาพจาก http://iconion.com/posts/social-media-icons-1.html

          Social Network แบ่งออกตามการใช้งานไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยสื่อสารกัน การแบ่งปันรูปภาพ การเผยแพร่ผลงานหรือแชร์ผลงานร่วมกัน หรือแม้กระทั่งการรวมกลุ่มกันเพื่อพูดคุยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง


พฤติกรรมการใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ของคนไทย
          พฤติกรรมของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต ปรับเปลี่ยนจากการรับข่าวสารจาก Portral Site มาเป็นโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) เว็บไซต์ เริ่มเด่นชัดตั้งแต่ช่วงปี 2007 หรือ พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีผลการศึกษาพบว่าประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ใช้เพื่ออัพเดตข้อมูลข่าวสาร และอีก 1 ใน 3 เพื่อคุยกับเพื่อนและคนรู้จัก นั่นสะท้อนให้เห็นเป็นอย่างดีว่าผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต ติดตามข่าวสารจากโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) มากขึ้น         
           Social Network มีทั้งผลดีและผลเสีย ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานและการนำไปใช้งาน หากเราใช้งานในทางที่ถูก Social Network  จะเป็นสื่อที่มีประโชยน์สามารถค้นคว้าหาข้อมูล ติดต่อสื่อสารกัน หากใช้ผิดวิธี Social Network จะเป็นภัยร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็นการโพสต์ข้อความ รูปภาพ หรือสื่อต่างๆที่ผิดกฏหมาย
           เรามี Social Network ในการอำนวยความสะดวกต่างๆ เราก็ควรใช้ในทางที่ถูก และใช้แต่พอเหมาะ ให้มีประโยชน์มากที่สุด และมีโทษน้อยที่สุด


วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week2 : เรื่องที่นักเรียนสนใจ

วิศวกรรมเคมี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง 

          หากพูดถึงคณะวิศวกรรมย่อมไม่มีใครไม่รู้จัก แต่จะมีใครบ้างที่รู้จักคณะวิศวกรรมเคมีอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นการเข้าศึกษา การเรียนการสอน หรือการทำงานหลังจากจบการศึกษา ซึ่งบล็อกนี้ได้นำความรู้เกี่ยวกับการศึกษาต่อคณะวิศวกรรมเคมี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง มาให้ศึกษาเพื่อเป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจในการศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย 
          วิศวะเคมีคือ วิศวกรเครื่องกลที่มองเรื่องต่างๆ ในรูปแบบของเคมีมากกว่าฟิสิกส์ มีความรู้ทางด้านการคำนวณทางเคมี และทำงานในรูปแบบของวิศวอุตสาหการ


ขอบคุณภาพจาก http://www.unigang.com/Article/306

          ภาควิชาวิศวกรรมเคมี ได้จัดตั้งขึ้นมาเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว ในชื่อ "โครงการจัดตั้ง ภาควิชาวิศวกรรมเคมี" โดยการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของภาควิชาเทคนิคอุตสาหกรรม หรือ วิศวกรรมสารสนเทศในปัจจุบัน ได้เริ่มเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2537 โดยมีที่ทำการอยู่ที่ชั้นที่ 9 ของอาคาร 12 ชั้นของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จากนั้นได้ย้ายมาอยู่ที่อาคาร CCA ในปี พ.ศ. 2543 โดยมีห้องปฏิบัติการเฉพาะหน่วยเป็นชั้นโล่งที่มีความสูงเท่ากับตึก 3 ชั้นอยู่บริเวณชั้น 1-3 ห้องธุรการภาควิชา ห้องสัมมนา ห้องพักอาจารย์บางส่วนอยู่ที่ชั้น 4 ในส่วนของ ชั้น 5 เป็นห้องปฏิบัติการรวมขนาดใหญ่ ในส่วนชั้นที่ 6 จะมี ห้องพักอาจารย์ ห้องทำงานวิจัย ห้องเรียน CCA-601 และ CCA-602


          ปัจจุบันได้เปิดการเรียนการสอนในทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก โดยมีคณาจารย์ประจำ จำนวน 15 คนโดยมีวุฒิระดับปริญญาเอก จำนวน 12 คน ระดับปริญญาโท จำนวน 6 คน โดยอาจารย์แต่ละท่านจะมีความชำนาญเฉพาะด้านที่หลากหลายอาทิ ตัวเร่งปฏิกิริยา พอลิเมอร์ พลังงานทดแทน ระบบควบคุม กระบวนการแยกสาร เทคโนโลยีสะอาด แบบจำลองมลภาวะอากาศ และระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น ภาควิชา จึงมีความพร้อมที่จะช่วยพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านอุตสาหกรรมเคมี ไปพร้อมทั้งดูแลสภาวะแวดล้อมให้ยังคงอยู่ 




การเรียนเกี่ยวกับวิศวกรรมเคมี
วิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering) เกี่ยวกับอะไร
          วิศวกรรมเคมีเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่นำความรู้ด้านฟิสิกส์และเคมีมาใช้ในการผลิตสารเคมีในระดับอุตสาหกรรม ความรู้ด้านฟิสิกส์ที่นำมาประยุกต์ เช่น กลศาสตร์โดยเฉพาะกลศาสตร์ของไหล เทอร์โมไดนามิกส์การแลกเปลี่ยนความร้อน (heat transfer) และการแลกเปลี่ยนมวลสาร (mass transfer) ส่วนด้านเคมี เช่น จลศาสตร์ของปฏิกริยาเคมี (kinetic of reaction)ซึ่งจริงๆแล้วจะมีสัดส่วนของฟิสิกส์มากกว่ามากกว่าเคมีเสียอีก ดังนั้นน้องๆที่บอกว่าไม่ชอบเคมีแล้วกลัวว่าจะเรียนไม่ได้ก็ไม่ต้องห่วงครับ ตัวผมเองก็ไม่ค่อยชอบ pure chemistry เท่าไหร่แต่กลับชอบวิศวกรรมเคมีครับ หลังจากเรียนวิชาพื้นฐานพวกนั้นแล้ว ก็เรียนรู้การออกแบบอุปกรณ์ต่างที่นำความรู้พวกนั้นมาประยุกต์ เช่นการเลือกใช้ปั๊ม การเลือกท่อ (พวกนี้จะคล้ายกับวิศวกรรมเครื่องกล) การออกแบบหอกลั่นเบื้องต้น การออกแบบreactor (ศัพท์จริงๆแปลว่าเครื่องปฏิกรณ์หรือเตาปฏิกรณ์ แต่คนทั่วไปมักนึกถึงเตาปฏิกรณ์ปรมาณู -ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า reactor เหมือนกัน) เป็นต้น เมื่อได้อุปกรณ์แต่ละตัวแล้วก็นำมาจัดสร้างเป็นกระบวนการผลิตแล้วประเมินความคุ้มค่าในการลงทุนด้วยวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นครับ สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ต้องเรียนในระดับปริญญาตรีครับ ส่วนปริญญาโทหรือเอก ก็จะเจาะเกี่ยวกับการประยุกต์ความรู้ในการแก้ปัญญาต่างๆ หรือพัฒนาสมมติฐานใหม่ๆ 

          หากใครมีความสนใจอยากศึกษาด้านวิศวกรรมเคมี ต้องมีความรู้ มีทักษะทางคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และเคมีเบื้องต้น โดยการเข้าศึกษาคณะวิศวกรรมเคมี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบังมีดังนี้
1. ผ่านระบบแอดมิดชั่น
2. โควต้าต่างๆ
ขอบคุณข้อมูล http://www.unigang.com/Article/3635


Week1 เทคโนโลยีกับชีวิตประจำวันของนักเรียน

เทคโนโลยีกับชีวิตประจำวันของนักเรียน
         ในชีวิตประจำวันของนักเรียน นอกจากการเรียนหนังสือแล้วยังมีสิ่งหนึ่งที่จำเป็นสำหรับนักเรียน นั่นคือเทคโนโลยีต่างๆไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ notebook เพื่อช่วยในเราทำงานสะดวกมากขึ้น 

ขอบคุณภาพจาก http://www.it24hrs.com/2013/gartner-analysis-future-trend-2013/

จากเมื่อก่อนมาจนถึงทุกวันนี้เทคโนโลยีมีการพัฒนามากขึ้น และจะมากขึ้นต่อไปในอนาคต ซึ่งเป็นผลดีในการทำงาน แต่หากมองในมุมกลับกันการใช้เทคโนโลยีที่มากเกินความจำเป็น อาจทำให้เราตัดขาดจากโลกภายนอก หรือทำให้เราทำอะไรไม่เป็น เช่น สังคมก้มหน้าคือทุกคนต่างเล่นโทรศัพท์ของตนเอง ไม่สนใจคนรอบข้างทำให้สังคมแคบลง การใช้อินเตอร์เน็ตในการหาข้อมูลแทนการค้นคว้าจากหนังสือ อาจทำให้สะดวกรวดเร็วแต่นอกจากนั้นแล้ว มันยังทำให้เรากลายเป็นคนที่ขี้เกียจ หากเราใช้แต่พอเหมาะอาจนำมาซึ่งผลดีมากกว่าผลเสีย



        อย่างไรก็ตามถึงแม้เทคโนโลยีต่างๆจะมีข้อเสียมากมายยังไง แต่ยังมีข้อดีที่มากกว่าทำให้เรามองข้ามข้อเสียเหล่านั้นไป และใช้เทคโนโลยีโดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่ตามมา เราจึงควรคิดและใช้อย่างพอดีให้เกิดประโยชน์สูงสุดและไม่ทำให้เกิดปัญหาด้วย