โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เราได้ยินบ่อยๆ ที่มักเกิดกับคนที่ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง หรืออาจจะผิดหวังจากบางเรื่อง หากมีคนจำนวน 100 คน ให้บอกความหมายหรือสาเหตุของโรคซึมเศร้า แต่ละคนก็จะตอบแตกต่างกันออกไป เนื่องจากโรคซึมเศร้าเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน วันนี้เรามาให้ความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า สาเหตุ พฤติกรรมบ่งชี้และวิธีการแก้ไข
อาการที่เด่นชัดของโรคซึมเศร้าคือ อาการหงุดหงิด ก้าวร้าว อารมณ์เศร้า ถ้าผู้ป่วยเป็นวัยรุ่น อาจจะมีอาการหงุดหงิด ก้าวร้าว อยู่ๆ ก็อยากหงุดหงิด ซึ่งจุดนี้บางคนคิดว่าเมื่อไปเจอเรื่องราวมรสุมชีวิต เลยกลายเป็นโรคซึมเศร้า แต่จริงๆ ไม่ใช่ ปัจจุบันทางการแพทย์เราเชื่อว่า โรคซึมเศร้านี้ เมื่อคนเราเกิดมา ร่างกายก็มียีน (Gene)ติดตัวมาอยู่แล้ว ดังนั้นหากพ่อแม่เป็นโรคซึมเศร้า หรือปู่ ย่า ตา ยาย เป็นโรคซึมเศร้า คนๆ นั้นก็มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคู่แฝด ถ้าฝาแฝด คนใดคนหนึ่งเป็น แฝดอีกคนก็จะมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากถึง 50% หรือมากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า
ดังนั้นโรคซึมเศร้าจึงไม่ใช่ว่าชีวิตต้องเจอกับมรสุมอะไร คนไข้หลายคนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า มักจะบอกกับหมอว่า ชีวิตก็ดี งานก็ดี ลูกก็ดี แต่ไม่รู้ทำไมอยู่ๆ ถึงเศร้าขึ้นมา คำตอบก็คือ ยีน ที่ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิดนี่แหละ แต่ปัจจัยภายนอกก็มีผลเช่นกัน เพราะบางคนที่มียีนอยู่แล้ว ติดตัวมาแต่เกิด และเมื่อโตขึ้นก็ไปเจอมรสุมชีวิตอีก มันก็ยิ่งเป็นเหมือนการกระตุ้นให้อาการป่วยแสดงออกมา
สัญญาณบอกเหตุโรคซึมเศร้า
หลังบอกถึงสาเหตุหลักของโรคแล้ว คุณหมอนางงามอธิบายต่อถึงสัญญาณบอกเหตุของโรคซึมเศร้าว่ามีด้วยกัน 9 ประการ ซึ่งหากคุณหรือคนใกล้ตัวมีอาการเหล่านี้ 5 ข้อติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อน ว่าอาจถูกเจ้าโรคซึมเศร้ามาเยือนเข้าแล้ว
1. อารมณ์ซึมเศร้า หงุดหงิด ก้าวร้าว
2. ขาดความสนใจสิ่งรอบข้าง
3. สมาธิเสีย คือ ไม่ค่อยมีสมาธิเวลาทำสิ่งต่างๆ
4. รู้สึกอ่อนเพลีย
5. เชื่องช้า ทำอะไรก็เชื่องช้าไปหมด
6. รับประทานอาหารมากขึ้น หรือรับประทานน้อยลง
7. นอนมากขึ้น หรือนอนน้อยลง
8. ตำหนิตัวเอง อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ ที่พบได้มากในคนเป็นโรคซึมเศร้า
9. ฆ่าตัวตาย หากมีการพยายามฆ่าตัวตาย ก็ตั้งข้อสันนิษฐานได้เช่นกันว่า คนนั้นอาจเป็นโรคซึมเศร้า
ทั้งนี้อาการของโรคซึมเศร้า ต้องมี 5 ใน 9 อย่างนี้นาน 2 สัปดาห์ติดต่อกัน
1. อารมณ์ซึมเศร้า หงุดหงิด ก้าวร้าว
2. ขาดความสนใจสิ่งรอบข้าง
3. สมาธิเสีย คือ ไม่ค่อยมีสมาธิเวลาทำสิ่งต่างๆ
4. รู้สึกอ่อนเพลีย
5. เชื่องช้า ทำอะไรก็เชื่องช้าไปหมด
6. รับประทานอาหารมากขึ้น หรือรับประทานน้อยลง
7. นอนมากขึ้น หรือนอนน้อยลง
8. ตำหนิตัวเอง อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ ที่พบได้มากในคนเป็นโรคซึมเศร้า
9. ฆ่าตัวตาย หากมีการพยายามฆ่าตัวตาย ก็ตั้งข้อสันนิษฐานได้เช่นกันว่า คนนั้นอาจเป็นโรคซึมเศร้า
ทั้งนี้อาการของโรคซึมเศร้า ต้องมี 5 ใน 9 อย่างนี้นาน 2 สัปดาห์ติดต่อกัน
สาวๆ หลายคนเชียวค่ะที่มีปัญหาหงุดหงิดหรือซึมเศร้าระหว่างมีประจำเดือน จึงมักเกิดคำถามว่าอาการซึมเศร้าเมื่อมีรอบเดือนนั้น คือ อีกสัญญาณบอกเหตุของโรคซึมเศร้าหรือไม่ จิตแพทย์สาวอธิบายให้โล่งใจว่า
“การมีประจำเดือนก็มีส่วนทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ แต่กรณีนี้อาจจะไม่ถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้าค่ะ เราต้องกลับไปดูเกณฑ์ 9 ข้อ ว่าเราเข้าเกณฑ์ 5 ใน 9 นั้นมั้ย นั่นคือ ถ้ามีอาการซึมเศร้าแค่ช่วงมีรอบเดือนแล้วหาย มันยังไม่เข้าเกณฑ์เป็นโรคซึมเศร้า เพราะเกณฑ์การเป็นโรคซึมเศร้าต้องเป็นต่อเนื่องกัน 2 สัปดาห์ขึ้นไป แต่ถ้าซึมเศร้าระยะเวลาน้อยกว่านั้น คือ เป็นเฉพาะตอนมีประจำเดือนแค่ไม่กี่วัน อันนั้น เป็นผลที่เกิดมาจากฮอร์โมน(Hormone)”
ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า โดยมีหลัก 9 ข้อดังต่อไปนี้
- อย่าตั้งเป้าหมายในการทำงาน และปฏิบัติตัวที่ยากเกินไป หรือรับผิดชอบมากเกินไป
- แยกแยะปัญหาใหญ่ๆ ให้เป็นส่วนย่อยๆ พร้อมทั้งจัดเรียงความสำคัญก่อนหลังและลงมือทำเท่าที่สามารถทำได้
- อย่าพยายามบังคับตนเอง หรือตั้งเป้ากับตนเองให้สูงเกินไป เพราะอาจไปเพิ่มความรู้สึกล้มเหลวในภายหลัง
- พยายามทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับบุคคลอื่น ซึ่งดีกว่าอยู่เพียงลำพัง
- เลือกทำกิจกรรมที่จะสร้างความรู้สึกที่ดีขึ้น หรือเพลิดเพลินและไม่หนักเกินไปเช่นการออกกำลังเบาๆ การชมภาพยนตร์ การร่วมทำกิจกรรมทางสังคม
- อย่าตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญต่อชีวิตมากๆ เช่น การลาออกจากงาน การแต่งงาน หรือ การหย่าร้าง โดยไม่ได้ปรึกษาผู้ใกล้ชิดที่รู้จักผู้ป่วยดี และ ต้องเป็นบุคคลที่สามารถพิจารณาเหตุการณ์นั้นอย่าง ที่ยงตรง มีความเป็นกลาง และ ปราศจากอคติที่เกิดจากอารมณ์มาบดบัง ถ้าเป็นไปได้ และ ดีที่สุด คือ เลื่อนการตัดสินใจออกไปจนกว่าภาวะโรคซึมเศร้าจะหายไปหรือดีขึ้น มากแล้ว
- ไม่ควรตำหนิ หรือลงโทษตนเองที่ไม่สามารถทำ ได้อย่างที่ต้องการ เพราะ ไมใช่ความผิดของผู้ป่วย ควรทำเท่าที่ตนเองทำได้
- อย่ายอมรับว่าความคิดในแง่ร้ายที่เกิดขึ้นในภาวะ ซึมเศร้าว่าเป็นส่วนหนึ่งที่แท้จริงของตนเองเพราะโดยแท้จริงแล้วมันเป็นส่วนหนึ่งของโรค หรือ ความเจ็บป่วย และ สามารถหายไปได้เมื่อรักษา
- ในขณะที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากลายเป็นคนที่ต้องการ ความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นแต่ก็อาจมีบุคคลรอบตัวๆ ที่ไม่เข้าใจในความเจ็บป่วยของผู้ป่วย และ อาจสนองตอบในทางตรงกันข้ามและกลายเป็น การซ้ำเติมโดยไม่ได้ตั้งใจ
ขอบคุณแหล่งข้อมูล